ข้อแนะนำในการใช้วิทยุสื่อสาร

 

   กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดสรรความถี่ 245 MHz ให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้โดยอิสระ
ไม่ต้องสอบ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน  อนุญาตให้เพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อโดยการ
ตั้งสถานีได้ (ตั้งเสาสูง)ทำให้ประชาชนสนใจเข้ามาใช้ความถี่นี้เป็นจำนวนมาก ทั้งการใช้งาน
อาสาสมัครช่วยเหลือสังคม งานธุรกิจ และประสานงานทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยี
การใช้โทนโค้ดสเควลช์ CTCSS DTS ในการแบ่งช่องย่อยในขณะเดียวกันประชาชนผู้ใช้งาน
ส่วนมากไม่มีความรู้พื้นฐานการใช้วิทยุสื่อสารเลย ไม่ว่าในด้านช่างหรือการแบ่งปันการใช้งาน
บางครั้งเกิดปัญหาความไม่เข้าใจในการใช้งานร่วมกัน

     ในอเมริกา ความถี่ 27 MHz.   เป็นความถี่ที่จัดสรรให้กับกิจการวิทยุซีบี โดยให้ใช้เครื่องที่มี
40 ช่องความถี่ 26.965-27.405 MHz. สำหรับใช้สื่อสารส่วนตัวหรือธุรกิจ สองทางด้วยเสียงพูด
ระยะใกล้กำลังส่ง 12 วัตต์   PEP   สำหรับ   Single Side Band และให้ตั้งสายอากาศสูงไม่เกิน
6 เมตร จากหลังคาอาคารแต่ต้องไม่เกิน 18 เมตร จากพื้นดินอนุญาตให้ใช้ตามครอบครัวทั่วไป
ขอความช่วยเหลือและในกิจการ อปพร.ฯลฯอนุญาตให้ใช้โทนเพื่อเรียกขานได้ไม่เกิน 15 วินาที อนุญาตให้ติดต่อได้ในระยะไม่เกิน 245 กิโลเมตรและต่อ “Phone Patch” เพื่อใช้เป็นโทรศัพท์
ได้ ถ้ามีผู้แนะนำที่มีความเข้าใจคอยเฝ้าฟังและสามารถตัดการสนทนาได้ถ้ามีข้อความต้องห้าม
ซึ่งมีดังนี้

- ข้อความผิดกฎหมาย

- วาจาหยาบคาย

- พฤติกรรมรบกวนผู้ใช้ซีบีอื่นๆ

- โฆษณาสินค้า หรือโฆษณากิจการเพื่อการค้า

- เสียงเพลง ผิวปาก หรือซาวนด์เอฟเฟคต่างๆ


- สัญญาณ May Day ( ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน) เว้นแต่มีเหตุฉุกเฉินจริงๆ

- หาเสียงให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองต่างๆ

- ติดต่อกับนักวิทยุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ซีบี


- จัดรายการสด หรือถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีการค้ากำไร หรือจากสถานี
  โทรทัศน์สำหรับบ้านเรา นอกจากห้ามการรับส่งต่างความถี่ และห้ามใช้สถานีทวนสัญญาณแล้ว
  ก็ยังไม่มีข้อกำหนด ระเบียบ หรือข้อห้ามใดๆ ที่ชัดเจนจากกรมไปรษณีย์โทรเลข นอกจากห้าม
  ใช้รีพีทเตอร์ในกิจการนี้เท่านั้น

   มารยาทที่พึงกระทำในการใช้วิทยุสื่อสาร
   1.  ใช้คำสุภาพในการสื่อสารแม้กระทั่งผู้ที่สนิทกัน
   2.   พูดให้รวบรัดชัดเจน ใช้รหัสให้ถูกต้อง
   3.   ไม่ร้องเพลงใส่เครือข่าย
   4.   คิดเสมอว่าไม่ได้มีแค่คุณและคุณที่คนรู้จักในความถี่
   5.   ไม่ทำการส่งข้อความแทรกเมื่อผู้อื่นกำลังส่งอยู่
   6.   ไม่ทำการก่อก่วนใดๆ เช่น กดคีย์ค้าง
   7.   คิดถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ
   8.   ตราบที่สัญญาณไปถึงทุกคนคือเพื่อน

 

ข้อแนะนำการใช้เครื่องรับ - ส่ง วิทยุคมนาคมแบบมือถือ

1. หลีกเลี่ยงการทำเครื่องตกหล่นลงบนพื้นแข็งด้วยประการใด ๆ ก็ตามเพราะจะทำให้เครื่องชำรุด
    ได้โดยง่าย ควรมีซองหนังใส่เพื่อลดความกระทบกระเทือน เมื่อเครื่องตกหล่นลดรอยแตกร้าว
    รอยขีดข่วนได้ 

2. เครื่องมือถือโดยทั่วไปสามารถปรับกำลังส่งได้สูงต่ำ(HI-LO) ได้ ระยะติดต่อใกล้ ๆ ควรส่งด้วย
    กำลังส่งต่ำซึ่งมีผลดีคือประหยัดพลังงานของแบตเตอรี่ถนอมภาค PA ของเครื่อง ไม่ให้ทำงาน
    หนักเกินไป 

3. ไม่ควรเก็บเครื่องไว้ในที่มีอุณหภูมิสูงๆ เช่น รถยนต์ที่จอดในที่แจ้งในหน้าร้อนอาจทำให้เครื่อง
     เสื่อม สภาพ และชำรุดได้ 

4. หลีกเลี่ยงการทำเครื่องตกน้ำหรือถูกน้ำฝน อาจทำให้เครื่องชำรุดยากแก่การตรวจซ่อม รวมทั้ง
    ช่องเสียบแจ๊คต่างๆ ของเครื่องต้องมีอุปกรณ์ปิดกั้นละอองน้ำและฝุ่นไม่ให้เข้าเครื่อง

5. สายอากาศที่ใช้กับเครื่องมือถือ ควรใช้สายอากาศยาง และสายอากาศแบบ Telescopic สาย
    อากาศทั้งสองแบบดังกล่าว ถ้าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรใช้อีกต่อไป
 
6. ห้ามจ่ายแรงดันไฟฟ้าเกินกว่าที่กำหนดไว้ในคู่มือ และห้ามจ่ายแรงดันไฟฟ้ากลับขั้ว 

7. ให้ปิดเครื่อง (OFF SWITH) ทุกครั้งก่อนที่จะทำการถอดหรือใส่แบตเตอรี่ 

8. ขณะที่ทำการส่งข่าวสาร ควรพูดห่างจากไมโครโฟนประมาณ 1-2 นิ้ว 

9. ไม่ควรให้ผู้อื่นมาใช้เครื่องของท่าน(ขอยืม)เพราะอาจมีปัญหาในทางกฎหมาย 

10. ระวังการสูญหายเนื่องจากการโจรกรรมพวกมิจฉาชีพ โดยเฉพาะเครื่องของทางราชการ
      หรือ เครื่องส่วนตัวก็ตาม ถ้าหายต้องรีบแจ้งความทันที 

11. การส่งข่าวสารต้องชัดเจน ใช้เวลาน้อย เพื่อถนอมเครื่องและแบตเตอรี่ 

12. หลีกเลี่ยงจากไอน้ำเค็ม 

13. คู่มือการใช้งานของเครื่องต้องเก็บรักษาไว้เพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงวิธีการใช้เครื่อง 

14. ไม่ควรปรับแต่งวงจรใดๆ ภายในเครื่อง ถ้าท่านมิใช่ช่างวิทยุโดยตรง 

15. ขั้วต่อสายอากาศของเครื่องมือถือ ถ้าเกิดการหลวมโยกขยับไปมาได้ต้องรีบแก้ไข